30. หอพระแก้ว,The Phra Kaew Pavilion.

You are here. ,คุณอยู่ที่นี่⇙🚩

๓๐. หอพระแก้ว

เมื่อครั้งที่พระนครศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีอำนาจแผ่ไพศาล สามารถปราบปรามบ้านเมืองน้อยใหญ่ต่างๆได้มากมาย และได้นำสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเครื่องบรรณาการจากต่างแดนต่างถิ่นมารวมไว้ให้คนได้เคารพบูชา ในฐานะที่เป็นเมืองศูนย์รวมความศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา

หอพระแก้วที่สร้างขึ้นในเมืองโบราณนี้ มีลักษณะรูปทรงเป็นหอแปดเหลี่ยมซึ่งเมืองโบราณได้แบบอย่างมาจากภาพสลักประตูตู้พระธรรมสมัยกรุงศรีอยุธยา ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ดูแล้วสอดคล้องกับภาพอาคารทรงสูงสมัยอยุธยาที่ชาวต่างประเทศได้บันทึกไว้ ภายในอาคารเป็นที่ประดิษฐานพระแก้ว และพระพุทธรูปสลักไม้ขนาดใหญ่ รวมทั้งมีการประดับประดาตกแต่งที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องราวในพระพุทธศาสนา เช่น ภาพพุทธประวัติ ชาดก ไตรภูมิพระร่วง ตลอดจนศิลปกรรมอีกหลายแขนง เช่น งานจำหลักไม้ งานประดับมุก ฯลฯ

หอพระแก้วแห่งนี้ คือสัญลักษณ์ของความเป็นศูนย์กลางทางศาสนาแห่งราชธานีศรีอยุธยาในอดีตนั่นเอง


30. The Phra Kaew Pavilion

Ayutthaya, in its prosperous era, had spread power throughout the region and neighboring areas near and far; many cities became dependent states of the Ayutthaya capital. Consequently, they were responsible for sending tributes to the King of Ayutthaya. The tribute at times included invaluable religious monuments such as elaborate sacred Buddha images as well as priceless treasures.

Phra Kaew Pavilion is an octagonally-shaped structure constructed by the Ancient City. The plan of the building drew on the carvings of the octagonally-shaped pavilion found on a wooden door panel of a scripture cabinet of the Ayutthaya period.


30. 玉佛塔
玉佛塔为泰式及中式混合之佛塔,为泰国大城王朝时期的遗产。

30. 프라깨우 파빌리온 

번창한 아유타야는 세력을 주변뿐만 아니라 지역까지 떨쳤습니다. 많은 도시가 아유타야 수도에 종속국이 되었습니다. 결과적으로 종속국들은 아유타야 왕에게 공물을 바쳐야 하는 의무가 있습니다. 시대 공물은 정교하게 만든 신성한 부처상이나 진귀한 보물 등과 같이 귀중한 종교적 기념품도 포함되어 있습니다.

 프라 카우 파빌리온은 무앙보란 고대 도시에서 제작한 팔각형 모양의 구조입니다. 아유타야 시대의 성전 보관장의 나무 문패에서 발견된 팔각형 모양의 파빌리온을 새긴 무늬를 따라 건물 계획을 세웠습니다.



  
 

ภาพหอพระแก้ว สถานที่ถ่ายทำภาพยนต์ซีรีย์ "ศรีอโยธยา"

---------------


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

  เมืองโบราณ สมุทรปราการ  ( รวบรวม เพื่อ รักษา , สืบสาน เพื่อ สร้างสรรค์ , เปิดประตู เพื่อ ส่งผ่าน) ยินดีต้อนรับสู่เมืองโบราณ พิพิธภัณฑ์เอกช...