20. อนุสรณ์สถานสงครามยุทธหัตถี,The Great Battle of Yuthahathi.

You are here.,คุนอยู่ที่นี่⇙🚩

๒๐. อนุสรณ์สถานสงครามยุทธหัตถี

สมเด็จพระนเรศวรฯ ได้ทรงกระทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระมหาอุปราชา พระราชบุตรของพระเจ้านันทบุเรง ณ หนองสาหร่าย แขวงเมืองสุพรรณบุรี ทรงใช้พระแสงของ้าว (เจ้าพระยาแสนพลพ่าย) ฟันพระมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์บนคอช้าง ปัจจุบันทางราชการได้สร้างอนุสรณ์เพื่อระลึกถึงวีรกรรมของพระองค์ในครั้งนั้น เรียกว่า อนุสรณ์ดอนเจดีย์

สงครามยุทธหัตถีในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

การพระราชสงครามที่รบกันระหว่างอยุธยาและพม่า ในปี พ.ศ. ๒๑๓๕ ตรงกับ วันจันทร์ เดือนยี่ แรม ๒ ค่ำ ปีมะโรง ในขณะที่ทั้งสองฝ่ายรบพุ่งกันอยู่นั้น ได้เกิดโกลาหลขึ้นในกองทัพ ทำให้ช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรพลาดเข้าไปอยู่ในวงล้อมทัพของฝ่ายพระมหาอุปราชมังกะยอชวาของพม่า สมเด็จพระนเรศวรจึงแก้กลศึกด้วยการเชิญชวนพระมหาอุปราชทำยุทธหัตถี เพื่อเป็นเกียรติยศ ซึ่งพระมหาอุปราชก็ทรงรับคําท้า จึงได้กระทำยุทธหัตถีขึ้น ซึ่งมีการสันนิษฐานว่าอาจเป็นที่ใดที่หนึ่งใน ๒ แห่งนี้ คือ ที่ ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัด สุพรรณบุรี และที่ตำบลดอนเจดีย์ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี

การยุทธหัตถี หรือ การชนช้าง คือ การสู้รบกันบนหลังช้างตามประเพณีโบราณของ กษัตริย์ในภูมิภาคอุษาคเนย์ ถือเป็นการสู้รบที่มีเกียรติยศ เป็นการรบแบบปะทะกันซึ่งๆ หน้าของคู่ต่อสู้ อันแสดงออกถึงความกล้าหาญ มีความเยี่ยมยอดในการรบและการบังคับช้าง

ช้างทรงสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แต่เดิมชื่อพลายภูเขาทอง ผูกเป็นพระคชาธาร (ช้างพระที่นั่ง) เมื่อคราวออกศึกขึ้นระวางเป็น เจ้าพระยาไซยยานุภาพ หลังจากชนะศึกยุทธหัตถี ได้รับพระราชทานชื่อว่า เจ้าพระยาปราบหงสาวดี ควาญช้างที่ร่วมในการกระทำยุทธหัตถี คือ นายมหานุภาพนั่งอยู่ท้าย ส่วนตรงกลางช้างเจ้ารามราฆพ และสมเด็จพระนเรศวรประทับที่คอช้าง
    
ช้างทรงพาะมหาอุปราชมังกะยอชวาแห่งพม่า เป็นช้างของเมืองหงสาวดี ชื่อพลายพัทธกอ ขึ้นระวางผูกเป็นพระคชาธารสำหรับการพระราชสงคราม ในขณะกระทำยุทธหัตถีมีควาญช้างอยู่ท้าย กลางช้างอยู่กลาง และพระมหาอุปราชประทับที่คอช้าง


20.  The Great Battle of Yuthahathi

When Ayutthaya fell to Burma in 1569 A.D. during the reign of King Phra Mahin Dharatirat, Prince Naresuan was brought to Burma by King Burengnaung as the hostage. Later, King Naresuan decided to liberate Siam from Burmase rule. He claimed the independence of his kingdom at Kraeng in May 1584 A.D. He had a great battle with Phra Maha Uparaja, the Burmese prince and the son of King Nantabureng. The great battle of Yuthahathi took place at Nong Sarai,Suphan Buri Province.




20. 战争纪念馆
战争纪念馆是为纪念泰国大城王朝纳乐萱帝皇战胜缅甸之纪念。




20. 유타하티의 대전쟁 

프라 마힌 다라티랏(Phra Mahin Dharatirat) 통치 시기인 기원후 1569년에 아유타야가 버마(미얀마) 함락되었을 나레수안(Naresuan) 왕자는 바인능(Bayinnaung, 부렝나웅 Burengnaung) 왕에 의해 버마로 볼모로 보내지게 되었습니다.

 버마 궁중에 세워진 나레수안 왕은 매우 영특하고 지혜로웠습니다. 그의 전쟁 능력은 모든 적군을 겁에 떨게 하였고 특히나 버마의 난타부렝(Nantabureng) 왕은 태국의 왕자가 자신에게 반대하는 세력을 형성하지 못하도록 왕자를 죽이려고 계획했습니다. 하지만 난타부렝 왕은 성공하지 못했습니다. 적군의 통치 아래 15년이 흐른 나레수안 왕은 시얌(태국) 버마로 부터 독립시키기로 결정했습니다. 그는 기원후 1584 5 그의 제국의 독립을 주장했습니다.

 기원후 1592 나레수안 왕은 난타부렝 왕의 아들이자 시대 버마 군대의 사령관이던 버마의 프라 마하 우파라자 왕자와 대전쟁을 치렀습니다. 마침내 나레수안 왕은 코끼리 등에 올라 역사적 왕족의 싸움에서 버마의 왕자를 처단했습니다. 유타하히의 대전쟁은 수판 부리 지역의 사라이에서 발발했습니다. 역사적인 사건과 역사에서 최고의 태국 전쟁 영웅의 탁월한 싸움 능력을 기리기 위해 기념물이 세워졌고 쩨디(Don Chedi)라는 이름이 붙여졌습니다.

--------------------






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

  เมืองโบราณ สมุทรปราการ  ( รวบรวม เพื่อ รักษา , สืบสาน เพื่อ สร้างสรรค์ , เปิดประตู เพื่อ ส่งผ่าน) ยินดีต้อนรับสู่เมืองโบราณ พิพิธภัณฑ์เอกช...